ก้อยดิบ ลาบเลือดหมู หลู้ดิบ เมนูอาหารพื้นถิ่นของอีสานและล้านนา วิธีการปรุงเป็นการคลุกเคล้าเนื้อสัตว์สับกับเครื่องปรุงรสเผ็ดนัว ขม เปรี้ยว และเครื่องเทศสมุนไพร ได้เป็นอาหารรสแซ่บ เป็นที่ชื่นชอบของคนไทยภาคอีสานและเหนือ
ทว่าเมนูลาบเลือดเป็นเมนูที่ทานดิบๆ เมื่อทานเข้าสู่ร่างกายอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ เพราะเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ดิบ เนื้อสัตว์ปรุงสุกที่เก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เหมาะสม และเก็บไว้เป็นเวลานานก่อนนำมาทาน มักพบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคปนเปื้อน
เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส สามารถสร้างสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเราทานอาหารที่มีเชื้อและสารพิษปนเปื้อนจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน เป็นตะคริวในช่องท้องและอ่อนเพลีย บางรายอาจปวดศีรษะ เป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ ชีพจรเต้นผิดปกติ อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับความต้านทานสารพิษของร่างกายแต่ละคน ปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อในอาหาร และปริมาณสารพิษที่เชื้อสร้างขึ้นในอาหาร
เพื่อบริโภคอย่างสบายใจ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างลาบเลือดหมู 5 ตัวอย่าง จากร้านส้มตำในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อน ผลวิเคราะห์ปรากฏว่า พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนในลาบเลือดหมูถึง 4 ตัวอย่าง
และ 3 ตัวอย่าง ที่พบเชื้อปนเปื้อนเกินเกณฑ์ ตามประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 กำหนดให้พบ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อนในอาหารพร้อมบริโภคทั่วไป อาหารประเภทลาบ ได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม
เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว ขอแนะว่า เลือกทานเมนูที่ปรุงสุกจะดีกว่า เพื่อความปลอดภัย สบายใจและสบายท้อง.
ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย
อ่านเพิ่มเติม...
August 14, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2FdBI3N
เชื้อก่อโรคในลาบเลือดหมู - ไทยรัฐ
https://ift.tt/37gAHlw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เชื้อก่อโรคในลาบเลือดหมู - ไทยรัฐ"
Post a Comment